หัวข้อ   “คะแนนนิยมของคนกรุงเทพฯ ในช่วงโค้งแรกของการเลือกตั้ง 54”
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,178 คน โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 20 -
22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา  พบว่า เกณฑ์ที่คนกรุงเทพฯ ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ส.ส.
ในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้  อันดับแรก ดูจากผลงานที่ผ่านมาในอดีต (ร้อยละ 31.7)
รองลงมาดูนโยบายที่หาเสียง (ร้อยละ 31.2)   และดูพรรคที่สังกัด (ร้อยละ 16.6) ตามลำดับ
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 สำหรับคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง (ส.ส.) ในระบบบัญชี
รายชื่อ พบว่า พรรคที่ได้คะแนนนิยมมากที่สุดได้แก่ พรรคเพื่อไทย (ร้อยละ 25.8) รองลงมา
คือ พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 14.7) และพรรครักประเทศไทย (ร้อยละ 2.0)  อย่างไรก็ตาม
มีถึงร้อยละ 52.0 ที่ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกคนของพรรคใด
 
                 ส่วนคะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ส.ส.) ในระบบแบ่งเขต  พบว่า คนกรุงเทพฯ ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยมากที่สุด
(ร้อยละ 26.3)   รองลงมาคือ ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 15.2) และผู้สมัครจาก
พรรครักประเทศไทย (ร้อยละ 1.7)  ขณะที่มีถึงร้อยละ 51.9 ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะ
เลือกใคร
 
                 เมื่อสอบถามว่าอยากได้ใครมาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด  พบว่าอันดับแรกได้แก่
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ร้อยละ 26.9)  รองลงมาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 17.4) และนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์
(ร้อยละ 3.6)   ขณะที่อีกร้อยละ 49.2 ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใครดี
   
                 ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ
และบริสุทธิ์ยุติธรรมพบว่า  ร้อยละ 66.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย   ขณะที่ร้อยละ 33.9 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึง
เชื่อมั่นมาก
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดใน รายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันที่ 3 กรกฎาคม พบว่า

 
ร้อยละ
ตั้งใจว่าจะไป
92.3
ตั้งใจว่าจะไม่ไป
โดยสาเหตุที่คิดว่าจะไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
เพราะ
  - เบื่อหน่ายการเมือง ร้อยละ 1.3
  - ทำงาน ติดธุระ ไปต่างจังหวัด ร้อยละ 0.7
  - ไม่เคยไปเลือกอยู่แล้ว ร้อยละ 0.6
  - เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย ร้อยละ 0.5
3.1
ไม่แน่ใจ
4.6
 
 
             2. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า
                 (ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง)

 
ร้อยละ
ดูจากผลงานในอดีตเป็นหลัก
31.7
ดูจากนโยบายที่ใช้หาเสียงเป็นหลัก
31.2
ดูจากพรรคที่สังกัดเป็นหลัก
16.6
ดูว่าไม่มีประวัติด่างพร้อยเรื่องทุจริตเป็นหลัก
14.3
เลือกตามญาติพี่น้อง คนในครอบครัว และชุมชน เป็นหลัก
2.0
อื่นๆ เช่น เลือกตามความชอบส่วนบุคคล   เลือกผู้ที่มีชื่อเสียง   เป็นที่รู้จัก
และเลือกผู้ที่ให้ผลประโยชน์ ตอบแทนมากที่สุด เป็นหลัก
4.2
 
 
             3. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
                 ในระบบบัญชีรายชื่อ  พบว่า  (ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง)

 
ร้อยละ
จะเลือกพรรคเพื่อไทย
25.8
จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์
14.7
จะเลือกพรรครักประเทศไทย
2.0
จะเลือกพรรครักษ์สันติ
1.6
จะไม่เลือกใครเลย
3.9
ยังไม่ตัดสินใจ
52.0
 
 
             4. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
                 ในระบบแบ่งเขต  พบว่า  (ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง)

 
ร้อยละ
จะเลือกผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย
26.3
จะเลือกผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์
15.2
จะเลือกผู้สมัครของพรรครักประเทศไทย
1.7
จะเลือกผู้สมัครของพรรครักษ์สันติ
1.3
จะไม่เลือกใครเลย
3.6
ยังไม่ตัดสินใจ
51.9
 
 
             5. คนกรุงเทพฯ อยากได้ใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด พบว่า 
                 (ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะไปเลือกตั้ง)


 
ร้อยละ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
26.9
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
17.4
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์
3.6
ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
2.9
ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใคร
49.2
 
 
             6. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ
                 และบริสุทธิ์ยุติธรรม พบว่า 

 
ร้อยละ
ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
โดยแบ่งเป็น - ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 48.3
  - ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 17.8
66.1
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
โดยแบ่งเป็น - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 24.3
  - เชื่อมั่นมาก ร้อยละ  9.6
33.9
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม
2554  ในประเด็นต่อไปนี้
                  1. ความตั้งใจที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้
                  2. เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเลือกผู้สมัคร
                  3. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในระบบแบ่งเขต
                  4. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในระบบบัญชีรายชื่อ
                  5. หัวหน้าพรรคที่คิดว่าเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด
                  6. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ และบริสุทธิ์
                      ยุติธรรม
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต  ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยการสุ่มถนน จากนั้น
จึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว  ได้กลุ่มตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 1,178 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 48.1  และเพศหญิงร้อยละ 51.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  20 - 22 พฤษภาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 พฤษภาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
567
48.1
             หญิง
611
51.9
รวม
1,178
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
262
22.2
             26 – 35 ปี
292
24.9
             36 – 45 ปี
283
24.0
             46 ปีขึ้นไป
341
28.9
รวม
1,178
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
693
58.8
             ปริญญาตรี
418
35.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
43
3.7
             ไม่ระบุระดับการศึกษา
24
2.0
รวม
1,178
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
97
8.2
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
305
25.9
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
421
35.8
             รับจ้างทั่วไป
123
10.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
102
8.7
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน นักศึกษา
130
11.0
รวม
1,178
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776